Detail About Us
ETC How does it work
ETC ทำงานอย่างไร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)สังกัดกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการติดตั้งระบบ เก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติในทุกสายทางพิเศษให้สามารถใช้งานร่วมกันได้โดยเปิดให้บริการในทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช (รวมถึงทางพิเศษสายรามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร)ทางพิเศษกาญจนาภิเษก(บางพลี-สุขสวัสดิ์)ทางพิเศษศรีรัชเมื่อปี 2553 ส่วนทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมเปิดให้บริการเมื่อปี 2555
ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติคือ ระบบที่ไม่ต้องใช้เงินสด/คูปอง แต่จะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร Easy Pass) เป็นอุปกรณ์ติดที่กระจกหน้ารถโดยใช้เป็นสื่อในการชำระค่าผ่านทางเมื่อรถวิ่งผ่านช่องทาง Easy Pass ผู้ใช้บริการจึงไม่ต้องเปิดกระจกรถ ไม่ต้องรอคิวยาว ไม่ต้องเตรียมเงินสดจึงได้รับความสะดวกรวดเร็ว การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางพิเศษโดยการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติของทางพิเศษทุกสายทางนับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการระบบทางพิเศษให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการทางพิเศษและประเทศชาติในภาพรวมทั้งนี้ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ คือการจัดเก็บค่าผ่านทางที่ไม่ต้องใช้พนักงานเก็บค่าผ่านทางโดยผู้ที่จะใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติจะต้องมียอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการเป็นเงินสำรองค่าผ่านทางฯล่วงหน้าและยื่นคำร้องขอใช้บริการ ณ จุดรับสมัครบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) ที่ กทพ. จัดไว้ โดยผู้สมัครใช้บริการต้องสำรองเงินแรกเข้าขั้นต่ำในบัตรเป็นจำนวนเงิน 300 บาท โดยที่ กทพ. ได้ยกเว้นการเก็บค่าประกันความชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ (จำนวน 1,000 บาท) ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2555 เเละตั้งเเต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป กทพ. ได้ลดเงินสำรองครั้งเเรกจาก 500 บาท เหลือ 300 บาท
ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำคัญ 2 อย่างคือ
1. บัตร Easy Pass (OBU หรือ Tag) ประกอบด้วยหมายเลข 19 หลัก (ดังภาพด้านล่าง) สำหรับติดกระจกหน้ารถซึ่งเมื่อรถของผู้ใช้บริการผ่านช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ บัตร Easy Pass จะทำหน้าที่สื่อสารกับเสาอากาศในช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติเพื่ออ่านค่าพร้อมตัดยอดเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการตามอัตราค่าผ่านทาง
2. บัตร Smart Card ประกอบด้วยหมายเลข 10 หลัก (ดังภาพด้านล่าง) หรือเรียกว่า หมายเลข S/N ใช้สำหรับการเติมเงินสำรองค่าผ่านทางฯ ในบัญชีของผู้ใช้บริการ